Anti-Corruption Policy

คำนิยาม การต่อต้าน การคอร์รัปชั่น

  • “บริษัท” หมายถึง บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด ( มหาชน ) บริษัทย่อย หรือ บริษัทในเครือหมายถึง บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด ( มหาชน ) เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นที่มีสิทธิ ออกเสียงในบริษัทหรือนิติบุคคลนั้นเกินกว่าร้อยละ 90 ไม่ว่าจะถือหุ้นเองโดยตรง หรือถือหุ้นโดยอ้อม
  • “คอร์รัปชั่น” ( Corruption ) หมายถึง เป็นการกระทำที่ทำให้ ขอให้ หรือ รับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่และเจตนาให้ได้รับผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจรวมถึงการช่วยเหลือทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล เงินสนับสนุน ค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับ และค่าใช่จ่ายอื่นๆเป็นต้น
  • “ทุจริต” ( Fraud ) หมายถึง ประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ไม่ชื่อตรง โกง คดโกง ฉ้อโกง โดยใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือ ผู้อื่น เช่น การยักยอกเงิน หรือทรัพย์สินบริษัทไปใช้ผลประโยชน์ส่วนตน การฉ้อโกง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การตกแต่งบัญชีหรือการแก้ไขปลอมแปลงเอกสารรวมถึงการให้สินบนทุกรูปแบบ
  • “สินบน” (Bribery) หมายถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ในที่นี้ “ทรัพย์สิน” หมายถึง ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น เงิน บ้าน รถ “ประโยชน์อื่นใด” เช่น การสร้างบ้านหรือตกแต่งบ้าน โดยไม่คิดราคาหรือคิดราคาต่ำ ผิดปกติ การให้อยู่บ้านเช่าฟรี การปลดหนี้ให้ การพาไปท่องเที่ยว
  • “การช่วยเหลือทางการเมือง” ( Political contributions ) หมายถึง การให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัท เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง นักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ไม่ว่าเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ หรือประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือความได้เปรียบทางธุรกิจทางการค้า แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการที่พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองตามหลักสิทธิเสรีภาพ
  • “การช่วยบริจาคเพื่อการกุศล” ( Charitable Contributions ) หมายถึง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด ให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดที่จัดตั้งขึ้น เช่นสมาคม มูลนิธิ องค์กรสาธารณะ วัด โรงพยาบาล สถานศึกษา หรือองค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคม อันมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำสาธารณะประโยชน์ให้สังคมโดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน หรือผลประโยชน์จากองค์กรที่เข้าไปให้การสนับสนุน
  • “เงินสนับสนุน” ( Sponsorships ) หมายถึง เงินที่จ่ายหรือรับจากลูกค้า คู่ค้า สมาคม มูลนิธิ องค์กรกุศล หรือองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมตราสินค้า หรือชื่ื่อเสียงของบริษัท อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความน่าเชื่อถือทางการค้าช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจและความเหมาะสมแก่โอกาส
  • “ค่าของขวัญค่าบริการต้อนรับ ( Hospitality ) ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง” หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ่ายเพื่อเป็นค่าสิ่งของใดๆที่มีมูลค่าทางการเงิน รวมถึงสิ่งที่ใช้แทนเงินสดและสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการ
  • “ค่าอำนวยความสะดวก” ( Facilitation Payment ) หมายถึง ค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กน้อยที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการและเป็นการให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการตามกระบวนการ หรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยกระบวนการนั้นไม่ต้องอาศัยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการกระทำอันชอบด้วยหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรวมทั้งเป็นสิทธิที่นิติบุคคลพึงจะได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว เช่น การขอใบอนุญาต การขอหนังสือรับรองและการได้รับการบริการสาธารณะ เป็นต้น
  • “พนักงานของบริษัท” หมายถึง กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด ( มหาชน )
  • “พนักงานของรัฐ” บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฎิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น

โครงสร้างคณะทํางานมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

Anti-Corruption

บริษัทได้กําหนดแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นดังต่อไปนี้

  1. ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน และบริษัทในสายธุรกิจ ดำเนินกิจการหรือยอมรับหรือให้การสนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกบริษัทในสายธุรกิจสินค้าอุปโภค/บริโภค รวมถึง ผู้รับจ้างหรือผู้รับจางช่วงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและกำหนดให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านทุจริต คอร์รัปชั่น อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีการทบทวนแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนด ประกาศ กฎหมายและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
  2. มาตรการต่อต้อนการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจและเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ของบริษัท ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา พนักงานทุกคนทุกระดับ ผู้ส่งมอบ หรือผู้รับเหมาช่วงที่จะมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นบรรลุตา มนโนบายที่กำหนด
  3. บริษัทพัฒนามาตรการการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงหลักปฏิบัติด้านศีลธรรม โดยจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหรือกล่มเสี่ยงต่อ การทุจริตและคอร์รัปชั่น และนำมาจัดทำเป็นคู่มือแนวทางในการปฏิบัติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. บริษัทไม่กระทำหรือสนับสนุนการให้สินบนทุกรูปแบบ รวมถึงไม่จ้างพนักงานรัฐเข้าทำงานที่ก่อให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทุกกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลรวมถึงการควบคุม การบริจาคเพื่อการกุศล การบริจาคให้แก้พรรคการเมือง การให้ของขวัญทางธุรกิจและการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ มีความโปร่งในและไม่มีเจตนาเพื่อโน้มน้าวให้เจ้าหน้าทีภาครัฐหรือเอกชน ดำเนินการที่ไม่เหมาะสม
  5. บริษัทจัดให้มีการควบคุมภายในที่เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะงานขาย การตลาด จัดซื้อ
  6. บริษัทจัดให้มีความรู้ด้านการต่อต้านการทุจริตและคอรร์รัปชั่นแก่คณะกรรมการ บริษัท ผู้บริหารและพนักงานเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต และความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงสื่อให้เห็นความมุ่งมั่นของบริษัท
  7. บริษัทจัดให้มีกลไกการรายงานสถานะการเงินที่โปร่งในและถูกต้องแม่นยำ
  8. บริษัทส่งเสริมให้มีการสื่อสารหลากหลายช่องทาง เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถแจ้งเบาะแสอันควรสงสัยโดยมั่นใจได้ว่าผู้แจ้งเบาะแสได้รับการคุ้มครอง โดยไม่ให้ถูกลงโทษ โยกย้ายที่ไม่เป็นธรรมหรือกลั่นแกล้งด้วยประการใด และรวมถึงการแต่งตั้งบุคคลเพื่อตรวจสอบติดตามทุกเบาะแสที่มีการแจ้งเจ้ามา ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

The Company has Operating Guidelines in accordance with the Anti-Corruption
Policy as the following :

  1. Prohibited are directors, executives, employees, and companies within the business sector from engaging in or condoning any form of corruption, both directly and indirectly. This covers all companies in the consumer goods/consumer products sector, including contractors or subcontractors involved, and requires regular examination of compliance with anti-corruption policies, codes of conduct, regulations, laws, and business changes.
  2. Measures to prevent corruption are part of business operations and the responsibility of the company's board of directors, executives, supervisors, and employees at all levels, as well as suppliers or contractors who have a role in expressing opinions on practices to achieve the company's anti-corruption policy.
  3. The company develops measures to combat corruption in accordance with relevant laws, including ethical principles. It includes conducting risk assessments of activities related to corruption and corporate governance and developing guidelines for those involved.
  4. The company neither engages in nor supports any form of bribery, including not hiring government employees to work in a way that conflicts with their interests. This applies to all activities under supervision and control, including charitable donations, political contributions, business gifts, and support for various activities, ensuring transparency and no intent to influence public or private sector officials inappropriately.
  5. The company ensures appropriate and consistent internal controls to prevent employees from engaging in inappropriate practices, especially in sales, marketing, and procurement.
  6. The company provides knowledge on combating corruption and corporate governance to the board of directors, executives, and employees to promote honesty, integrity, and responsibility in performing their duties, as well as demonstrating the company's commitment.
  7. The company establishes mechanisms for transparent and accurate financial reporting.
  8. The company promotes various communication channels to allow employees and stakeholders to confidently report suspicions, ensuring protection from punishment, unfair transfers, or retaliation, and also appoints individuals to monitor and follow up on all reported concerns with support from the government and the National Anti-Corruption Commission (NACC).

บทลงโทษ

บริษัท มีกระบวนการในการลงโทษ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างเหมาะสม การลงโทษนี้รวมถึงการเลิกจ้าง หรือปลดออก ตามข้อบังคับการทำงานของบริษัท นอกจากนี้อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากกระทำนั้นๆ ผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย

แนวทางปฎิบัติ

  1. คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติ และกำกับดูแล ให้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ชัดเจน สื่อสารนโยบายให้แก่พนักงานของบริษัททุกระดับ และบุคคลภายนอกเพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติได้จริง
  2. คณะกรรมการตรวจสอบ สอบทานความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงและแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการคอร์รัปชั่นของบริษัท ตามโครงการแนวร่วมปฎิบัติ ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบทานระบบ รายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายในและระบบตรวจสอบภายใน สอบทานให้บริษัทปฎิบัติตามกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  3. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่มีผลต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น พิจารณาและกลั่นกรองการจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับของบริษัทและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท
  4. คณะกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารฝ่าย มีหน้าที่นำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน ทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
  5. ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ และสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบควบคุมภายในด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีความเหมาะสมและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
  6. คณะกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารฝ่าย มีหน้าที่นำนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน ทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
  7. ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ และสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีระบบควบคุมภายในด้านการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่มีความเหมาะสมและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
  8. คณะทำงาน มีหน้าที่ในการจัดทำนโนบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น ให้คำปรึกษา และข้อแนะนำเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น สอบสวนข้อเท็จจริง ในกรณีมีการร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแส โดยปฎิบัติตามนโยบายสอบสวนข้อเท็จจริง และรายงานผลการปฎิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายฉบับนี้ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

การแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน ( คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติมการร้องเรียน )

Fortune Parts Industry Public Company Limited (FPI) uses cookies to provide you with a better browsing experience. Detailed information on the use of cookies on this site นโยบายความเป็นส่วนตัว and how you can manage them, ตั้งค่า is provided in our Privacy and Cookies Policy.

Privacy Preferences

You can choose to set cookies by turning on/off each type of cookie according to your needs, except for the necessary cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • การเก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บไซต์

    Google Analytics เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่มีเพื่อนำไปพัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Save