ความท้าทายจากปัจจัยภายในและภายนอก ส่งผลต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายและลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ พร้อมทั้งมองหาโอกาสที่จะสร้างความได้เปรียบในการดำเนธุรกิจ นำไปสู่การสร้างความมั่นใจแก่ผู้ถือหุ้น องค์กรได้กำหนดโครสร้างการบริหารความเสี่ยงและบทบาทหน้าที่รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยง โดยคณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ทวนสอบและคำปรึกษารวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงระบบการควบคุมภายในระบบการตรวจสอบภายในและระบบการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญและจำเป็นเพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ คณะกรรมการบริหารนำเสนอนโยบายและกรอบของการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบรวมถึงกำกับดูแลให้มีการดำเนินงานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง อนุมัติกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงและวิเคราะห์ระบุและประเมินความเสี่ยงกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และกำหนดมาตรการหรือแผนบริหารความเสี่ยงของฝ่ายหรือโครงการหรืองานที่อยู่ในความรับผิดชอบและเป็นเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) โดยจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงและกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators :KRIs) และเป้าหมาย กำหนดแนวทางการจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย การยอมรับความเสี่ยง การกระจายความเสี่ยง การลด /ควบคุมความเสี่ยง และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ควบคู่กับการประเมินความเสี่ยงที่สำคัญ (Key Risks) และร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดทำและทบทวนแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) สำหรับเตรียมรับมือเมื่อเกิดกรณีวิกฤติ เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียหายต่อกระบวนการธุรกิจ หรือกระทบผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร โดยมีการดำเนินการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น และระยะยาว พร้อมทั้งติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆ (Emerging Risks) ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการในการจัดการและลดความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม โดยรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อปี
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้พัฒนากระบวนบริหารความเสี่ยงภายใต้กรอบการบริหารความเสี่ยง COSO ERM Framework โดยครอบคลมุความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกในอนาคต บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กำหนดแนวทางและมาตรการจัดการความเสี่ยงโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในฐานะเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ติดตามและรายงานผลการประเมินความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี และที่สำคัญกระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งที่พนักงานทุกระดับในองค์กรจำเป็นต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้ความเสี่ยงที่เหลืออยู่ในระดับที่ ยอมรับได้ อีกทั้งต้องร่วมกันมองหาโอกาสที่เกิดขึ้นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรตลอดจนปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
การส่งเสริมวัฒนธรรมความเสี่ยง
คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงส่งเสริมการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง และกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมหลักองค์กร “TALENT” โดยดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้การบริหารความเสี่ยง คู่มือการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้มีส่วนได้เสียในการควบคุมกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพผ่านช่องทางที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ติดตาม ปรับปรุง ทบทวน และรายงานผลอย่างสม่ำเสมอต่อคณะกรรมการบริษัท คณะผู้บริหาร และพนักงาน พร้อมทั้งมีการปรับปรุง และทบทวนแนวทางการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ รวมทั้งสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในกระบวนการทำงานของพนักงานทุกคนให้เข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยงขององค์กร กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง และเครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงในการคำนึงถึงการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุลและเตรียมความพร้อมให้พนักงานสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กรได้วิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) ทั้งจากบริบทภายใน และภายนอกองค์กรที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลา 3-5 ปีข้างหน้าเพื่อจัดเตรียมมาตรการรองรับในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
ประเด็นความเสี่ยง | ผลกระทบต่อบริษัท | มาตรการการแก้ไข |
---|---|---|
|
|
|
|
|
|
ประเด็นความเสี่ยง | ผลกระทบต่อบริษัท | มาตรการการแก้ไข |
---|---|---|
|
|
|
|
|
|
ประเด็นความเสี่ยง | ผลกระทบต่อบริษัท | มาตรการการแก้ไข |
---|---|---|
|
|
|