- การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี
- รายงานประจำปี/ รายงานความยั่งยืนประจำปี
- การร่วมกิจกรรมพบนักลงทุนย่อยกับ ตลท.
- การร้องเรียนผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียน
- การร่วมกิจกรรม mai FORUM กับ ตลท.
- การแถลงผลการดำเนินงานรายไตรมาส
- Line @ FPI IR (สื่อสารทางเดียว)
- การสำรวจความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของลูกค้า
- การพบปะกับลูกค้าและกิจกรรม Trade Show
- การเปิดโอกาสให้ลูกค้าเยี่ยมชมโรงงาน
- การเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าร่วมทำงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
- Line @ FPI Sale & Marketing (สื่อสาร 2 ทาง)
- การให้บริการหลังการขาย
- การประเมินผลการปฏิบัติงานและกิจกรรม Kaizen แบบสองทางทุก 6 เดือน และ 1 ปี
- การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านตัวแทนคณะกรรมการลูกจ้าง
- การร้องเรียนผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียน โดยจัดให้มีกล่องรับความคิดเห็น CEO Box
- การจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน (Cross Functional Team)
- กิจกรรม CEO พบพนักงาน
- Line @ แรงงานสัมพันธ์(สื่อสารทางเดียว)
- การประเมินผู้รับเหมา/ คู่ค้าประจำปี
- การติดต่อผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรศัพท์อย่างสม่ำเสมอ
- การเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานราชการประเมิน FPI
- กิจกรรมร่วมพัฒนาชุมชน
- สร้างงานและรายได้ให้ชุมชนและสังคม
- การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
- การเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ
- งานชุมชนสัมพันธ์ผ่านโครงการ เช่น สวนเกษตรยั่งยืน
- การรายงานผลให้กับหน่วยงานราชการตามวาระ
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการของหน่วยงานราชการอย่างต่อเนื่อง
- การเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานราชการ
หมายเหตุ : สีของข้อความแสดงถึงความถี่ในการดำเนินงาน ดังนี้
-
- ต่อเนื่อง/ สม่ำเสมอ/ ทุกเดือน
- ทุกไตรมาส
- ทุก 6 เดือน
- ทุกปี
ผลการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) | ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Needs and Expectation) | การตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Responsiveness) |
---|---|---|
1. ผู้ถือหุ้น/ สถาบันการเงิน | • การให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง • ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ • ศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจ • การพัฒนาธรุรกิจเพื่อความยั่งยืนและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในอนาคต • การดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม • การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน | • การกำกับดูแลกิจการที่ดี • มุ่งมั่นสู่การพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนและมีการดำเนินงานที่เป็นเลิศเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (EOE: Eco – Operational Excellence) • การสร้างผลประกอบการที่ดี • การจ่ายเงินปันผล/ จ่ายชำระคืนภาระหนี้สินอย่างถูกต้อง • การเปิดเผยข้อมูลขององค์กรอย่างโปร่งใสและทันเหตุการณ์ผ่านช่องทาง อาทิ เว็บไซต์ของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานประจำปี และรายงานความยั่งยืน • จัดทำแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (HIC) • บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ • สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ • เพิ่มผลผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ |
2. ลูกค้า | • คุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย • ราคาของสินค้าและบริการมีความเหมาะสม • ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • การบริหารจัดการด้านนวัตกรรม | • การตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า • การบริหารจัดการความไม่พึงพอใจของลูกค้า • การพัฒนารูปแบบการดำเนธุรกิจแบบ B2C และ Online & Digital Marketing อาทิ 3D Printing • การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมบริการเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • ดำเนินงานเพื่อให้ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และฉลากลดโลกร้อน • การดำเนินงานตามหลัก CRM (Customer Relation Management) |
3. พนักงาน | • การปฏิบัติต่อแรงงานด้วยความเป็นธรรม • ความมั่นคงในอาชีพและความก้าวหน้าในสายอาชีพ • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน • ค่าตอบแทนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม • การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาพนักงาน | • การอบรมและพัฒนาบุคคลากร อาทิ Human to Hero • สร้างสภาพแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน อาทิ การควบคุมค่ามลพิษตามมาตรฐานและกฎหมายกำหนด • การจัดกิจกรรมและโครงการสร้างการมีส่วนร่วมภายในและภายนอกองค์กร • การบริหารจัดการความพึงพอใจและข้อร้องเรียนตามความเหมาะสม • ปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชน และ นโยบายการจ้างงานอย่างเคร่งครัด • ปรับปรุงระบบจ่ายค่าตอบแทน และการประเมินผล • การทบทวน Smart JD และ Skill Matrix • ปรับปรุงระบบการพัฒนาตามเส้นทางอาชีพ (Career Path) • การประเมินความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กร |
4. คู่ค้า/ ผู้รับจ้างช่วง / ผู้ส่งมอบ | • การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นธรรมและโปร่งใส • การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ร้ายแรง อันก่อให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจและผลกระทบที่เกิดกับชุมชน อาทิ คุณภาพของอากาศและน้ำทิ้ง | • การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า • การร่วมออกแบบและพัฒนากระบวนการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ Ni-U, Chrome Free, RoHS/ Lead Free เป็นต้น • การกำกับดูแลกิจการ และรายงานประจำปี • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน • การดำเนินงานตามหลัก SRM : Supplier Relation Management • การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นธรรม/ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว • การตรวจประเมินและพัฒนาคู่ค้าที่ยั่งยืน • การลงนามในจรรยาบรรณคู่ค้าที่ยั่งยืน |
5. ชุมชน/ สังคม | • การลดผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินงานที่มีต่อชุมชนและสังคม อาทิ คุณภาพของอากาศ และน้ำทิ้ง • การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน • การส่งเสริมเศรษฐกิจและการสร้างอาชีพ/ รายได้ที่มีคุณค่า | • บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมด้วยระบบมาตรฐาน ISO14001 • การจัดการสิ่งแวดล้อม และก๊าซเรือนกระจก น้ำ และของเสีย • บริหารจัดการด้านพลังงานด้วยระบบมาตรฐาน ISO50001 • บริหารความปลอดภัยด้วยระบบมาตรฐาน OHSAS18001 • ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน • จัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากชุมชน ที่เหมาะสมกับการดำเนินงานของบริษัทฯ • การจ้างงานท้องถิ่นและสร้างรายได้ที่ยั่งยืน • การส่งเสริมการเรียนรู้กับเยาวชนในชุมชน • สนับสนุนโครงการทวิภาคีและนักศึกษาฝึกงาน • สร้างสวนเกษตรแบบยั่งยืนเป็นศูนย์เรียนรู้คู่ชุมชน • การชดเชยการปล่อยการเรือนกระจกจนเป็น “ศูนย์” (Carbon Neutral Event) • การเปิดเผยผลการดำเนินงานผ่านรายงานความยั่งยืน และรายงานประจำปี |
6. หน่วยงานราชการ / องค์กรภาครัฐ | • การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ • การลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน เช่น คุณภาพอากาศและน้ำทิ้งลงสู่สาธารณะ • การลดผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินงานปกติต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม | • การกำกับดูแลกิจการที่ดี (ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่รายงานประจำปี 2562) • การจัดการสิ่งแวดล้อม พลังงาน น้ำ และของเสียตามค่ามาตรฐาน และควบคุมให้ดีกว่าค่ามาตรฐานกำหนด • การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • บริหารจัดการประสิทธิภาพการใช้พลังงาน • การเปิดเผยผลการดำเนินงานผ่านรายงานความยั่งยืน และรายงานประจำปี • การเผยแพร่/ แลกเปลี่ยน/ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมร่วมกัน • การให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแผน ฉ.12 และเป้าหมายการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกก่อนและหลังปี ค.ศ. 2020: NAMAs & INDCs อาทิ T-VER ร่วมกับ อบก. |